เมนบอร์ด
เมนบอร์ด
Mainboard เมนบอร์ด หรืออีกชื่อที่หลายๆคนเรียกและข้างกล่องว่ามาเธอร์บอร์ด (Motherboard) เมนบอร์ดมีความสำคัญควบคู่กับซีพียู เมนบอร์ดนั้นมีทำหน้าที่ทำงานในการควบคุมและดูแลการทำงานต่างๆของอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆในคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ และแรม ส่วนมากเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็พัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิ่มประสิทธิภาพของเมนบอร์ดให้ดียิ่งขึ้น และมีสีสันที่ดูดี สวยงาม โดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองนั้นจะเลือกสีสันตามที่ตัวเองชอบ
สำหรับเมนบอร์ดสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งภายนอกและภายในจึงต้องมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อต่างๆเข้าด้วยกัน และสามารถจะรองรับการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันในบางรุ่นหรือว่ามีส่วนประกอบที่แตกต่างกันความสามารถที่จะทำงานก็ต่างกันด้วย
เรามารู้จักส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญและควรรู้ที่มีในเมนบอร์ดกัน
1.ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นและตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราใส่ ฉะนั้นควรเลือกให้ตรงกันด้วย
2.พอร์ต ที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของทุกเครื่องจะมีพอร์ตในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ละรูพอร์ตก็จะมีรูเสียบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตสำหรับเสียบ USB 3.0 และ 2.0 ที่มีความเร็วสูง พอร์ตสำหรับเสียบ HDMI, พอร์ตแลนเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และพอร์ตเสียงที่สามารถเสียบกับลำโพง ไมค์ และเครื่องบันทึกเสียงอื่นได้ มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน 4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
3.สล็อต AGP ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตอยู่2 ส่วนด้วยกันคือ
– North Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
– South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อSATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE ใช้ในการเชื่อต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
11. ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
รูปแบบของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดในปัจจุบันมีรูปแบบที่มีหลายขนาด เพื่อตอบสนองในการใช้งานปัจจุบัน เราสามารถเลือกที่จะใช้ทั้งแบบเล็ก หรือแบบใหญ่ตามที่เราต้องการ
1.ATX ( Advanced Technology Extended ) เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีขนาดที่ 12 x 9.6 นิ้ว เป็นเมนบอร์ดตัวใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีต เพราะว่าขนาดของมันที่ใหญ่จึงสามารถเพิ่มใส่อุปกรณ์ต่างๆได้มากขึ้นกว่าชนิดอื่นๆ และสามารถระบายความร้อนได้อย่างดีเพราะมีการออกแบบให้อุปกรณ์ภายในเมนบอร์ดนั้นสามารถที่จะระบายอากาศได้อย่างลงตัว และยังสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแรมที่สามารถใส่ได้มากกว่า 2 ช่อง หรือการ์ดจอที่สามารถใส่ได้มากกว่า 2 ตัวนั้นเอง
2.Micro ATX จะมีขนาดที่เล็กลงมาจาก ATX เนื่องจากว่ามีขนาดที่เล็กลงจึงสามารถอุปกรณ์อื่นๆได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ขนาดเล็กลงนั้นก็สามารถลดการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน จะมีขนาดประมาณ 9.6 และสามารถใช้งานกับเคสคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงมาหน่อยได้ เป็นการประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน
3.Mini-ITX (Information Technology Extended) เป็นเมนบอร์ดที่มีรูปแบบเล็กกว่าสองแบบแรก ด้วยความที่ต้องการประหยัดเนื้อที่ให้เล็กลงอีก การใช้พลังงานก็ต่ำลงด้วยเช่นกันเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่มาพร้อมกันอย่างสัญญาณ WIFI และมีช่องต่อต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น และมีข้อจำกัดในการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปส่วนมากหลายอย่างนั้นจะมาในตัวแล้วยกเว้นแค่ แรม ซีพียู และฮาร์ดดิสก์เท่านั้น หากต้องการเมนบอร์ดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ของคุณ จำเป็นต้องใช้รุ่น Micro ATX ขึ้นไป
Great post, you have pointed out some excellent points, I as well believe this is a very superb website. 54y8921
ตอบลบ