วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เมาส์+คีย์บอร์ด (Mouse+Keyboard)

เมเมาส์+คีย์บอร์ด (Mouse+Keyboard)า+คีย์อร์ด (Mouse+Keyboard)

        
หลายคนคงรู้จักอุปกรณ์ยอดนิยมที่ขาดไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ อย่าง เม้าส์ (Mouse) เพราะเป็นอุปกรณ์ไว้สำหรับชี้กำหนดจุดต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และ คีย์บอร์ด (Keyboard) หากไม่มีมันเชื่อว่าหลายคนคงทำอะไรไม่เป็นอย่างแน่นอน แล้วคำถาม นี้เคยมีในหมู่เพื่อนๆบ้างหรือเปล่าเม้าส์ (Mouse) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรามาทำความรู้จักกันเม้าส์กันดีกว่า



ประวัติ เม้าส์ (Mouse)

     เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart’s oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน
     เมาส์ตัวแรกนั้นมีขนาดใหญ่ และใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลไปเป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาทได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 ชื่อ “X-Y Position Indicator For A Display System” (ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) ในตอนนั้น เองเกลบาทตั้งใจจะพัฒนาจนสามารถใช้เมาส์ได้ด้วยมือเดียว
     เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็ก ๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้
     เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ André Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก
ออปติคอลเมาส์

     ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเมาส์อีกรูปแบบนึงนั่นก็คือ ออปติคอลเมาส์ (optical mouse) ซึ่งใช้หลักการในการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์แสงที่อยู่ใต้เมาส์ ร่วมกับแอลอีดี ออปติคอลเมาส์ในยุคแรก ๆ ประดิษฐ์โดย สตีฟ เคิร์ช (Steve Kirsch) ที่บริษัท Mouse Systems Corporation ซึ่งสามารถใช้ได้บนเมาส์แพด (mouse pad) ที่มีพิ้นผิวเป็นโลหะเฉพาะเท่านั้น และต้องใช้ CPU ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลตำแหน่งของตัวชี้ แต่เมื่อคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ออปติคอลเมาส์จึงได้ถูกใส่ชิปสำหรับประมวลผลภาพ (ICP: Image processing chips) เข้าไป ซึ่งทำให้สามารถใช้ได้บนพื้นผิวหลายชนิดมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์แพดอีกต่อไป
     หลักการของเมาส์แบบที่ไม่ต้องใช้เมาส์แพด คือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวที่เกิดจากการใช้แอล อีดีส่องไปที่พื้นผิว และจะถูกส่งต่อไปที่ส่วนประมวลผลภาพเพื่อที่จะแปลงไปเป็นการเคลื่อนไหวบนแกน X และ Y โดยจะประมวลผลถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ซึ่งในแต่ละเฟรมเป็นมีขนาด 18×18 พิกเซล และแต่ละพิกเซลมีระดับความเข้มที่แตกต่างกันได้ถึง 64 เฉด เมาส์แบบนี้มักจะสับสนกับเลเซอร์เมาส์ (laser mouse) และกลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบันเนื่องจากความแม่นยำที่มีมากกว่าเมาส์แบบลูก กลิ้ง
ปริมาณความต้องการออปติคอลเมาส์ ส่วนหนึ่งมาจากนักเล่นเกมแนว FPS ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงในการเล็งโดยใช้เมาส์
เปรียบเทียบออปติคอลเมาส์กับเมาส์ลูกกลิ้ง

ผู้ที่สนับสนุนออปติคอลเมาส์อ้างว่าเมาส์ชนิดนี้ทำงานได้ดีกว่าเมาส์ลูก กลิ้ง ไม่ต้องบำรุงรักษาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว ส่วนทางด้านผู้สนับสนุนเมาส์ลูกกลิ้ง กล่าวว่าออปติคอลเมาส์นั้นไม่สามารถใช้บนวัสดุโปร่งแสงหรือเป็นมันได้ รวมถึงออปติคอลเมาส์ที่มีประสิทธิภาพต่ำจะมีปัญหาในการเคลื่อนเมาส์เร็ว ๆ และการซ่อมบำรุงเมาส์ลูกกลิ้งนั้นง่ายกว่า แค่ทำความสะอาดก็ใช้ได้แล้ว (แต่อย่างไรก็ดีออปติคอลเมาส์นั้นไม่ต้องการการบำรุงรักษาเลย) จุดที่แข็งที่สุดของเมาส์ลูกกลิ้งน่าจะเป็นการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเมื่อ เป็นเมาส์ไร้สาย โดยที่มันจะใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 5 mA หรือน้อยกว่า ในขณะที่ออปติคอลเมาส์จะกินไฟถึง 25 mA โดยที่เมาส์ไร้สายรุ่นเก่าๆ จะกินไฟมากขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ ไม่เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนานๆ เมาส์ลูกกลิ้งใช้แสงในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้ง ในขณะที่ออปติคอลเมาส์ตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวเรียบ
เลเซอร์เมาส์

     ในปี 2004 Logitech ร่วมกับ Agilent Technologies ได้นำเลเซอร์เมาส์เข้าสู่ตลาด เมาส์ชนิดนี้ใช้แสงเลเซอร์แทนแอลอีดีแบบเก่า เทคโนโลยีแบบใหม่ซึ่งสามารถเพิ่มรายละเอียดของภาพที่ถูกประมวลผลในเมาส์ได้อีก ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว
ปุ่ม

     ปุ่มบนเมาส์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในสมัยแรกเพียงเล็กน้อยเท่า นั้น โดยอาจจะเปลี่ยนในเรื่องรูปร่าง จำนวน และการวางตำแหน่ง เมาส์ตัวแรกที่ประดิษฐ์โดยเองเกลบาทนั้นมีเพียงปุ่มเดียว แต่ในปัจจุบันเมาส์ที่นิยมใช้กันมี 2 ถึง 3 ปุ่ม แต่ก็มีคนผลิตเมาส์ที่มีถึง 5 ปุ่ม
     เมาส์ที่นิยมใช้กันจะมีปุ่มที่ 2 สำหรับเรียกเมนูลัดในซอฟต์แวร์ที่มีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้มารองรับ ไมโครซอฟท์วินโดวส์ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็ออกแบบมาสนับสนุนการใช้ปุ่มที่ 2 นี้ด้วย
     ส่วนระบบที่ใช้กับเมาส์ 3 ปุ่มนั้น ปุ่มกลางมักจะใช้เพื่อเรียก แมโคร (แมโคร หรือ Macro คือเครื่องมือที่ใช้เพิ่มการปฏิบัติงานของ Application บางอย่าง ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ซ่อนอยู่ภายใต้โปรแกรมนั้น เช่น โปรแกรม Excel ผู้ใช้อาจจะเขียนคำสั่งขึ้นเองเพื่อใช้ทำงานเฉพาะอย่าง นอกเหนือไปจากการทำงานตามปกติของโปรแกรมนั้น) ในปัจจุบันเมาส์แบบ 2 ปุ่มสามารถใช้งานฟังก์ชันปุ่มกลางของแบบ 3 ปุ่มได้โดย คลิกทั้ง 2 ปุ่มพร้อมกัน
ปุ่มเสริม

     บางครั้งเมาส์ก็มีปุ่ม 5 ปุ่มหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้ ปุ่มพิเศษนี้อาจจะใช้ในการเลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังสำหรับการท่องเว็บ หรือเป็นปุ่ม scrolling แต่อย่างไรก็ตามฟังก์ชันเหล่านี้ใช้ไม่ได้กับทุกซอฟต์แวร์ และมักจะมีประโยชน์กับเกมคอมพิวเตอร์มากกว่า (เช่นการเปลี่ยนอาวุธในเกมประเภท FPS หรือการใช้สกิลต่างๆในเกมแนว MMORPG,RTS) เพราะว่าปุ่มพิเศษพวกนี้ เราสามารถที่จะกำหนดฟังก์ชันอะไรลงไปก็ได้ ทำให้การใช้งานเมาส์เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     ดักลัส เองเกลบาท นั้นอยากให้มีจำนวนปุ่มมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เค้าบอกว่าเมาส์มาตรฐานนั้นควรจะมี 3 ปุ่ม เพราะว่าเขาไม่รู้จะเพิ่มปุ่มเข้าไปตรงไหนนั่นเอง
ล้อเมาส์

     นวัตกรรมอย่างหนึ่งของปุ่มเมาส์คือปุ่มแบบเลื่อน (Scroll wheel ล้อเล็ก ๆ วางในแนวขนานกับผิวของเมาส์ สามารถหมุนขึ้นและลงเพื่อจะป้อนคำสั่งใน 1 มิติได้) โดยปกติแล้วจะใช้ในการเลื่อนหน้าต่างขึ้น-ลง เป็นฟังก์ชันที่มีระโยชน์มากสำหรับการดูเอกสารที่ยาว ๆ หรือในบางโปรแกรมปุ่มพวกนี้อาจจะใช้เป็นฟังก์ชันในการซูมเข้า-ออกได้ด้วย ปุ่มนี้ยังสามารถกดลงไปตรง ๆ เพื่อจะใช้เป็นฟังก์ชันปุ่มที่ 3 ได้อีก เมาส์ใหม่ ๆ บางตัวยังมี Scroll wheel แนวนอนอีก หรืออาจจะมีปุ่มที่สามารถโยกได้ถึง 4 ทิศทาง เรียกว่า tilt-wheel หรืออาจจะมีลักษณะเป็นบอลเล็กๆ คล้ายๆ Trackball บังคับได้ทั้ง 2 มิติเรียกว่า scroll ball
การเชื่อมต่อ

     เช่นเดียวกับอุปกรณ์รับข้อมูล (input device) อื่น ๆ เมาส์ก็ต้องการการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปให้ คอมพิวเตอร์ เมาส์ทั่ว ๆ ไปจะใช้สายไฟ เช่น RS-232C, PS/2, ADB หรือ USB โดยปัจจุบันที่นิยมใช้ที่สุด จะเป็น PS/2 และ USB ซึ่งไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้งาน จึงมีผู้ประดิษฐ์เมาส์ไร้สายโดยส่งข้อมูลผ่าน อินฟราเรด, คลื่นวิทยุ, หรือ บลูทูธแทน
     อินฟราเรด เป็นลักษณะของการถ่ายโอนข้อมูลคล้าย ๆ กับรีโมท (ทีวีหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน) โดยที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณต้องอยู่ในระนาบการส่งสัญญาณที่ตรงกัน เท่านั้น (เช่นหัวของเมาส์ต้องหันหน้าไปที่ตัวรับสัญญาณตลอดเวลา) ซึ่งการใช้การส่งข้อมูลไร้สายในรูปแบบนี้ไม่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องมี การเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลาอย่างเมาส์ จึงมีผู้ประดิษฐ์เมาส์ที่ส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุแทน
     เมาส์วิทยุ (Radio mouse) เป็นเมาส์ที่ส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุไร้สาย ตัวเมาส์ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในระนายเดียวกันกับตัวรับสัญญาณตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งเรื่องความได้เปรียบเกี่ยวกับระยะทางของสัญญาณ เมาส์สามารถใช้ได้ห่างจากตัวรับสัญญาณได้มากกว่าแบบ Infrared แต่เนื่องจากการใช้เมาส์ผ่านคลื่นวิทยุไร้สายนั้นเป็นการทำให้เกิดการกีดกัน และรบกวนกันระหว่างสัญญาณของตัวเมาส์เอง กับระบบโทรศัพท์ไร้สายหรืออินเทอร์เน็ตไร้สายที่อยู่ในช่วงสัญญาณเดียวกัน และอีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับการใช้เมาส์รุ่นเดียวกันมากกว่า 2 ชิ้น ทำให้เครื่องในรัศมีการรับสัญญาณของเมาส์ที่อยู่ในคลื่น A เหมือนกันนั้นตอบรับกับเมาส์ตัวอื่น เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเมาส์ไร้สายจะสามารถปรับช่องสัญญาณได้เพียงแค่สองช่อง เท่านั้น (A และ B)
     เพราะฉะนั้นผู้ประดิษฐ์จึงหันไปพึ่งเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐานระบบใหม่ ที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุเช่นกันคือ บลูทูธ แต่เนื่องจากผู้คิดค้นและริเร่มระบบบลูทูธได้คาดคำจึงถึงปัญหาเนื่องจากมี ผู้ใช้บลูทูธมากไว้แล้ว ทำให้ได้มีการวางแผนระบบการจับคู่อุปกรณ์ขึ้น ทำให้อุปกรณ์หนึ่งไม่ไปรบกวนหรือไปทำหน้าที่บนอีกอุปกรณ์หนึ่งอย่างที่ผู้ ใช้ไม่ได้ต้องการ โดยก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ด้วยกันจะต้องมีการจับคู่อุปกรณ์กันก่อน จึงจะสามารถใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ด้วยกันได้ และความได้เปรียบในเรื่องของความเร็วที่สูงกว่า 40KB/วินาที ของระบบบลูทูธนั้น ทำให้มันสามารถนำไปใช้ได้กับหลากหลายตลาดการสื่อสาร เช่น หูฟังไร้สาย การส่งข้อมูลไร้สาย และรวมไปถึง ตีย์บอร์ดกับเมาส์นั่นเอง
     เมาส์บลูทูธ (Bluetooth mouse) นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบ พกพา โดยบางเครื่องนั้นได้มีการติดตั้งตัวระบบส่งสัญญาณบลูทูธในเครื่องแล้วด้วย ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์รับสัญญาณแยกออกมาจากเครื่อง ซึ่งทำให้กินพื้นที่ Bluetooth mouse กำลังจะเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ และเช่นกันสำหรับ บลูทูธคีย์บอร์ด (Bluetooth keyboard)


ประวัติ คีย์บอร์ด (Keyboard)


        คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก



     คีย์บอร์ดของไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM ในรุ่นแรกๆ ประมาณปี ค.ศ.1981 มีปุ่มทั้งหมด 83 ปุ่ม ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/XT และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้ เพิ่มจำนวนปุ่มขึ้นเป็น 84 ปุ่มมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/AT ต่อจากนั้นก็ได้ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ใช้เรียกว่า คีย์บอร์ด AT และพัฒนามาเป็น รุ่น PS/2 โดยมีแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก 17 ปุ่มรวมแล้วก็เป็น 101 ปุ่ม


เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สาย


    1  เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายนั้นสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ 2 ทาง คือใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด(Infrared) และ เทคโนโลยีอินฟราเรด เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ถ้าใช้อินฟราเรด เม้าส์และคีย์บอร์ดจะต้องชี้ตรงไปที่พอร์ตอินฟราเรดของคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน แต่ถ้าเป็นคลื่นความถี่วิทยุนั้นไม่จำเป็น ในตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายนั้นทำงานอย่างไร อย่างเช่น เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายที่สร้างโดยบริษัท Logitech


   2   คีย์บอร์ดโดยปกติจะมีสายติดอยู่และเสียบอยู่กับพอร์ตของคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ BIOS (Basic Input/Output System)และระบบปฏิบัติการจะตรวจหาคีย์บอร์ดเอง และจะจัดการกับคีย์บอร์ดนั้นให้สามารถป้อนข้อมูลเข้ามาทางพอร์ตที่ต่อได้ ถ้าเป็นคีย์บอร์ดหรือเม้าไร้สายคุณจะเสียบเครื่องรับความถี่วิทยุที่คีย์บอร์ดหรือพอรต์ USB แทน ซึ่ง BIOS และระบบปฏิบัติการจะตรวจหาเครื่องรับความถี่วิทยุราวกับว่ามันเป็นคีย์บอร์ดแบบไร้สาย


    3  เมื่อคุณกดปุ่มคีย์บอร์ดหรือเคลื่อนเม้าส์ อุปกรณ์จะสร้างสัญญาณดิจิตอลเหมือนกับที่มันทำเป็นปกติ เช่น เมื่อกดปุ่ม A มันจะแปลงเป็นรหัสคีย์บอร์ดที่คอมพิวเตอร์เข้าใจว่านั่นคือตัวอักษร A สำหรับกรณีนี้รหัสอักษร A คือ 1E

    4  คีย์บอร์ดและเม้าส์ไร้สายจะมีอุปกรณ์ส่งคลื่นความถี่วิทยุด้านใน อุปกรณ์ส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณดิจิตอลออกมากับความถี่วิทยุที่ความถี่ 27 MHz

     5  อุปกรณ์รับคลื่นความถี่วิทยุจะคอยรับสัญญาณอยู่ตลอดเวลาที่ความถี่ 27 MHz เมื่อมันได้รับสัญญาณมันจะทำการแปลงสัญญาณความถี่วิทยุนั้นไปเป็นสัญญาณดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และส่งสัญญาณนี้ไปที่คอมพิวเตอร์เหมือนกับที่คีย์บอร์ด โดยปกติจะทำงานโดยผ่านการทำงานของ BIOS และระบบปฏิบัติการ

     6  คอมพิวเตอร์ทำตามสัญญาณที่ส่งมา เช่น แสดงตัวอักษร A ที่หน้าจะคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม

           คีย์บอร์ดและเม้าส์ไร้สายของ Logitech นั้น อุปกรณ์รับกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณสามารถสื่อสารกันได้ไกลมากที่สุดที่ระยะประมาณ 6 ฟุต ดังนั้นที่ระยะทางไกลกว่า 6 ฟุต จึงไม่สามารถที่จะสื่อสารกันได้ แต่อย่างไรก็ตามระยะทางที่ใกล้กว่า 6 ฟุต จะไม่เกิดการรบกวนสัญญาณจากอุปกรณ์รับส่งสัญญาณของคีย์บอร์ดและเม้าส์ไร้สายอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณ เนื่องจากมีการกำหนดตัวเลข 12 หลักเป็น ID ประจำทั้งเครื่องรับแลส่งสัญญาณของคีย์บอร์ดและเม้าส์ โดยที่อุปกรณ์รับสัญญาณจะยอมรับเฉพาะสัญญาณที่มาจากตัวส่งสัญญาณที่มี ID เดียวกันเท่านั้น โดยจะไม่รับสัญญาณจากคีย์บอร์ดและเม้าส์ที่ไม่ใช่ ID ที่ระบุไว้ ดังนั้นจึงไม่เกิดการรบกวนสัญญาณระหว่างกันในกรณีที่ใช้งานใกล้กัน


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)


          
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร



ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว


ความหมายของ Hard disk









ความหมายของฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์คืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวฮาร์ดดิสก์จากภายนอกได้ ถ้าต้องการดูจำเป็นต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องออกจึงจะมองเห็น และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆดังนั้นความจุของตัวฮาร์ดดิสก์จึงเป็นส่วนสำคัญมากในการเลือกนำมาใช้งาน และโปรแกรมในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็น windows หรือโปรแกรมอื่นๆมักมีขนาดใหญ่จึงต้องเลือกตัวฮาร์ดดิสก์ที่มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB : Gigabyte)

ลักษณ์ของการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์มีศัพท์เฉพาะที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า อินเตอร์เฟส (Interfece) สามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ประเภท

1. IDE และ E-IDE
การเชื่อมต่อแบบ IDE (integrated Drive Electronics) เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า ที่มีข้อจำกัดรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้เพียงแค่528 เมกกะไบต์ ส่วน E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) คือพัฒนาการของ IDE นั่นเอง สามารถรองรับการเชื่อมต่อในระดับ กิกะไบต์ และปัจจุบันการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ มักนิยมใช้แบบ E-IDE

2. SCSI
การเชื่อมต่อแบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง นิยมใช้กับระบบเครือข่ายการและการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะต้องมีการ์ด SCSI ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย


ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คือถ้าหากว่าเราไม่มีฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ เวลาเปิดเครื่องเราต้องมานั่งเขียนโปรแกรมเป็นพันๆหมื่นๆบรรทัดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน พอเราปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ก็ต้องเขียนโปรแกรมนั้นอีกเพราะไม่มีตัวเก็บข้อมูลความจำนั้น ฮาร์ดดิสก์ก็คือตัวเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสะดวกในการใช้งานอีกด้วย






ประเภทของฮาร์ดดิสก์





ฮาร์ดดิสก์ได้มีพัฒนาการในการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 3 รูปแบบคือ แบบ IDE ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นแบบ EIDE ( Enhanced IDE) สำหรับเครื่องทั่วไป แบบ SCSI นิยมใช้ Server และWorkstation และ แบบ Serial ATA เป็นมาตรฐานใหม่ของฮาร์ดดิสก์ สำหรับเครื่อง PC ทั่วไปมีความเร็วสูงและมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่าเดิม

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (EIDE)


ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่าแบบ IDE ปัจจุบันเป็นแบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) ทั้งสิ้น โดยพัฒนาต่อจากแบบ IDE เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 528 MB ได้
ฮาร์ดดิสก์ในมาตรฐานนี้มีหลายความเร็วได้แก่ Ultra ATA (Ultra DMA)/33,/66,/100,/133ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล33,66,100,133, MB/sตามลำดับฮาร์ดดิสก์แบบ ATA/33 จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายแพแบบ 40 เส้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ATA/66/100/133 จะเชื่อมต่อด้วยสายแพแบบ80 เส้นโดยปกติบนเมนบอร์ดจะมีช่องต่อ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 และ IDE2ซึ่งแต่ละช่องต่อจะติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกจะต้องกำหนดลำดับโดยจัมเปอร์เป็น “Master”และ“Slave” ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานฮาร์ดดิสก์นั้นได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI

ย่อมาจาก Small Computer Interface เป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีความเร็วสูงสามารถรับส่งข้อมูลได้เกินกว่า 160 MB/s จะต้องใช้ร่วมกับตัวควบคุมที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสริมโดยในช่วงแรกใช้สายแพเชื่อมต่อกับการ์ดแบบ 50 เส้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน SCSI 2 และ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้สายแพสำหรับเชื่อมต่อซึ่งเป็นแบบ 68 เส้น
การ์ดเสริม (SCSI) นอกจากจะใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ได้แล้ว ยังสามารถใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์ SCSI อื่นๆได้อีกรวม 7-15 ตัว แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องใช้ร่วมกับการ์ดควบคุม (SCSI Card) จึงนิยมใช้งานเฉพาะกับเครื่อง Server สำหรับควบคุมเครือข่าย

ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA

ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เป็นอินเตอร์เฟสรูปแบบใหม่ที่ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (IDE ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบขนาน) จึงทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่าแบบ IDE โดย Serial ATA 1.0 สามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วสูงถึง 150MB/s และจะสูงถึง 300 และ 600 MB/s ใน SATAเวอร์ชั่น 2 และ 3 ต่อไป





ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ












Harddisk IDE (PATA) Harddisk SATA
IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร

ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง


Computer Case

Computer Case คืออะไร



Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช้า CPU เมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ศีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ใรกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะง่ายขึ้น


Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศ และ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะ เป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายใน ใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ 


ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่า เวลา ยกไปไหน ก็สะดวก ป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบ เก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกัน คลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ 

บางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็มีมากมาย มันขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก, Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ, Server/Tower Case เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก 

สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็กเคสโลหะผสมเคสอะลูมิเนียมเคสพลาสติกเคสผสม เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีหลายส่วนครับอันแรกก็จะเป็นฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคสต่อมาก็จะเป็นปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด – ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่องรวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่แล้วก็ลำโพงเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียงมันยังมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ซีดีรอมฟรอบปีดิสก์ไดรฟ์ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และมี Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่นมีช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนมีฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด – ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคสมีเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมเคสเสมอสุดท้ายก็พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมีเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้นแล้วการเลือกซื้อเคสจะเลือกอย่างไร การเลือกซื้อเคส คุณต้องเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดของคุณ ถ้าใช้เมนบอร์ด Pentium 4 ก็ควรเลือกเคส ATX สำหรับ Pentium 4 ซึ่งเป็นหลักการเลือกซื้อเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็ให้คุณเลือกเคสที่มีการออกแบบตรงใจคุณ ต่อจากนั้น ก็ต้องดูด้วยขนาดของเมนบอร์ดว่าเป็นแบบใด แต่ส่วนมากแล้วเคสส่วนใหญ่ ก็สามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงจำนวนช่องสำหรับใส่อุปกรณ์ การติดตั้งพอร์ต USB ด้านหน้าและควรเลือกเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี สุดท้ายควรพิจารณาด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเคสรุ่นนี้ เพียงพอกับอุปกรณ์ในเคสหรือไม่ ซึ่งควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายขนาด 250 วัตต์ขึ้นไป ผมคิดว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเคสดีขึ้นครับ



รูปแบบของ Case

1.Case แนวนอน 


2.Case แนวตั้ง


รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างไปตามความต้องการออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิค และวัสดุผสม


การเลือกซื้อ Case

1. เลือกรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้

ว่ากันว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ดังนั้น การเลือก Case ก็เช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตเคส หลายเจ้าได้ ดีไซน์เคสออกมาในรูปแบบต่าง ๆ สวยงาม น่าสนใจ ดังนั้น ก็เป็นกำไรของผู้บริโภค เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าใน Case ต้องรองรับ เมนบอร์ด แบบ  ATX, ATX Full size หรือ mATX  ซึ่งเราก็สามารถสอบถามผู้ขายว่า รองรับ ATX ซึ่งก็แน่นอนว่าปัจจุบัน เป็นที่นิยมกัน แต่ก็ต้องดูงบประมาณด้วยนะครับ รวมทั้งดูข้ออื่น ๆ ด้านล่างประกอบด้วย


2. มีความสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของคอมพิวเตอร์

ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น รองรับเมนบอร์ด, Power Supply, HardDisk รวมทั้งต้องเผื่อไว้ เวลาอัพเกรด ฮาร์ดแวร์ เช่น เพิ่ม Harddisk ต้องมีช่องที่สามารถเพิ่มได้  หรือ แม้กระทั่ง ความสะดวกสบายในการใช้งาน USB ในช่องด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่าง คือ การวางของ Power Subbply และ พัดลมระบายความร้อน ที่ติดมากับเคส ก็ ดูภาพรวมไม่เกะกะ ยุ่งเหยิง จนเกินไป 

3. ระบายความร้อนได้ดี

ต้องเลือก Case ที่มีพัดลมระบายความร้อนด้านข้างหรือด้านบนก็จะเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามให้ติดตั้งเพียงพอเหมาะในการใช้งานเท่านั้น หากใส่พัดลมมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอ เกิดเสียงดังรบกวนจนน่ารำคาญ อีกทั้งทำให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามอุปกรณ์ต่างๆ มากไปอีกด้วย

4. มีความปลอดภัยในการติดตั้ง

เคสที่ดีต้องมีการเก็บรายละเอียดงานได้พอสมควร ไม่มีเหลี่ยมคมให้บาดมือได้ นอกจากนี้เคสบางรุ่นยังบุแถบยางในจุดที่ต้องสอดมือเข้าไปติดตั้งอย่างเช่น เพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วยป้องกันการถูกบาดหรือขูดกับผิวหนังได้ดีทีเดียว ไฟไม่รั่ว มีสายดินลง Case เพื่อไม่ให้ไฟ ดูด หลายท่านอาจเคยโดนไฟดูดที่ Case ดังนั้น เคสที่ดีต้องมีความปลอดภัยส่วนนี้ด้วย

5. ความสะดวกในการติดตั้งและจัดวางอุปกรณ์

Case ที่ดี ต้องมีความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะบางครั้งจะต้องมีการถอดเข้าถอดออก บางคนไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แต่ต้องการติดตั้ง Harddisk เองก็สามารถเปิด อินเตอร์เน็ตแล้วทำตามได้ง่าย ๆ โดยถ้าหากบางคนเลือกซื้อ Case ที่ประกอบอุปกรณ์ยาก แล้วบางที เครื่องเสีย ต้องถอดน๊อตเยอะแยะวุ่นวายไปหมด ลักษณะที่ดึคือ สามารถ เปิดฝาด้านเดียว แล้วสามารถมองและตรวจสอบอุปกรณ์ ทุกตัว เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการ ถอดประกอบแต่ในส่วนของสายไฟ ต้องเป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่จะเก็บได้สวยงามและ ละเอียดแค่ไหน ซึ่งทุกวันนี้ เคสบางตัว ในการเพิ่ม Harddisk สามารถเปิดCaseด้านเดียวแล้วใส่ Harddisk เข้าไปในช่อง น๊อตยึดก็จะมีแค่ตัวเดียว อีกด้านหนึ่ง ก็จะล็อกอัตโนมัติ ถือว่าสะดวกสบายมากมายเลยครับ

6. ราคา

มาถึงเรื่องสำคัญแล้วครับ ราคา ที่ผ่านมาทั้งหมด ถ้าตรง สเปก แต่ราคาสูงเกินไปก็เปลืองครับ ลองมองหาเคสอื่นได้เลย แต่ถ้าถูกเกินไป ก็เสียงต่อ ความเสียหายของอุปกรณ์ ได้ ก็เอาเป็นว่า ราคา ที่พอรับได้กลาง ๆ แล้วกันนะครับ สำหรับผมอยู่ระหว่าง 1200 - 2500 ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อน ความทน ความเป็นรบ ใจจริงก็อยากแนะนำ ยี่ห้อให้ด้วย แต่ว่าเดียวจะหาว่าโฆษณาให้เขา ดังนั้น ก็เลือกตาม หัวข้อทั้ง 6 ข้อ ถ้าแหล่งที่มาตรงก็ ซึ้อได้เลยครับ

RAM

RAM

RAM

ประเภทของแรม (RAM)










      โดยทั่วไปสามารถแบ่ง RAM ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM(DRAM) โดยมีรายระ เอียดดังนี้

 1. Static RAM (SRAM)













      ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ มีไฟ” กับ ไม่มีไฟ” ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่ 
นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัว CPU เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาด ความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย

 2. Dynamic RAM (DRAM)
















      ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ มีประจุ” กับไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วน หนึ่งคอยทำหน้าที่เติมประจุ” ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh)
หน่วยความจำ ประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของ หน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความ จุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง

ชนิดของ Dynamic RAM (DRAM)
      DRAM 
ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วย ความจำหลัก ของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

2.1 SDRAM (Synchronous Dynamic RAM)

      SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มา
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

2.2 DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)

      DDR SDRAM คือ หน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับ SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200 MHz ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูล เพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับ SDRAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา เพียงด้านเดียว
แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SDRAM ที่มีอยู่ 2 ที่ ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง

      การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความ กว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณ นาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง
ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533) ไปจนถึง PC5600 (DDR-700)

2.3 DDR-II SDRAM

      ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่ง ยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมี จำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2- 400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900)
รุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมี รุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น

      สำหรับ DRAM ชนิดนี้ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่นานจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่ สุด

2.4 RDAM (RAMBUS DRAN)

      ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่อง บากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถ แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16
บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066 (1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32
บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(ไบต์) ที่ทำงานด้วย ความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ



อ้างอิง http://anurak-technology.blogspot.com/